ข้อมูลเพิ่มเติม แหล่งเรียนรู้ (7 แห่ง)
ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่
กลุ่มฅนวัยใส: ต้นแบบบริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว
ดูแล-ช่วยเหลือ "ท้องไม่พร้อม" รับฟัง เสริมกำลังใจ ให้ข้อมูล คำปรึกษารอบด้าน ไม่ชี้นำ ไม่โน้มน้าว ไม่ตัดสินใจแทน
ที่ติดต่อ
ศูนย์ฅนวัยใส
นางสาวสุดาพร นาคฟัก
เลขที่ 72 หมู่ 5 ต.ดอนแก้ว อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
โทรศัพท์: 083 152 0451 e-mail: suda_aem2@hotmail.com Facebook: กลุ่มฅนวัยใส เชียงใหม่
อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
เยาวชน กศน.แม่ออน พูดเรื่องเพศอย่างปลอดภัย: ต้นแบบการทำงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับเยาวชนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ทั้ง 6 ตำบลใน อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ที่ติดต่อ
มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน:
นางสาวสุชาดา สุวรรณเทศ
128/60 หมู่ 5 ต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์: 098 919 9455 e-mail: nuth_nu2011@hotmail.com
ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศในชุมชนชาติพันธุ์: อสม.สื่อสารความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพและสุขภาวะทางเพศ โดยสอดแทรกมุมมองเรื่องเพศที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมชนเผ่า ให้คำแนะนำแก่คนในชุมชนและส่งต่อผู้ประสบปัญหาเข้าถึงบริการสุขภาพและบริการสังคม
ที่ติดต่อ
โครงการสุขภาวะชาติพันธุ์
นายสรวิชญ์ สกุลชัยนิรันดร์
383/7 หมู่ 3 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
โทรศัพท์: 084 616 7304 e-mail: ahdo.omega55@gmail.com
ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย
ศูนย์ Small Smile: เสริมศักยภาพของเยาวชนในชุมชนและดูแลช่วยเหลือปัญหาเรื่องเพศของเยาวชนบนพื้นฐานการทำงานด้านสิทธิเด็กและเยาชน
ที่ติดต่อ
กลุ่มเคียงริมโขง/ศูนย์ Small Smile
นางปภาดา ทะอาจ
4 หมู่ 19 บ้านเกษตรสมบูรณ์ ต.ห้วยซ้อ อ.เชียงของ จ.เชียงราย 57140
โทรศัพท์: 095 859 7094 e-mail: sonsana2515@hotmail.com
ต.บ้านเหล่า อ.แม่ใจ จ.พะเยา
เครือข่ายช่วยเหลือเกื้อกูลสุขภาวะทางเพศในชุมชน: กลไกหน่วยงานบริการและสังคมในพื้นที่ร่วมกันดำเนินงานช่วยเหลือ ส่งต่อให้เยาวชนได้รับบริการสุขภาพและสุขภาวะทางเพศอย่างครอบคุลม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม บนฐานร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมประเมินผล และใช้โมเดล 5 ป. SHM (Sexuality health model) ประกอบด้วย
1) “เปิด” เปิดตน เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ปรับทัศนคติเรื่องเพศเชิงบวก และการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว
2) “ปรับ” ปรับทักษะ ให้ความรู้ในการให้คำปรึกษาแบบเกื้อกูลควบคู่กับการจัดตั้งศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมสุขภาพ
3) “ปรุง” เติมเต็มส่วนที่ขาด หาข้อเท็จจริง และนำไปปรับใช้
4) “ปลง” ติดตามประเมินผล หนุนเสริมกระบวนการให้คำปรึกษาแบบเสริมพลัง
5) “ปล่อย” มุ่งเน้นให้ชุมชนจัดการปัญหาด้วยตนเองบนพื้นฐานของความรัก มองผู้ที่ประสบปัญหาด้วยความเข้าใจ และหาทางออกร่วมกัน
ที่ติดต่อ
สำนักข่าวเด็กและเยาวชน
นางรติรัตน์ วุฒิ
108 หมู่ 4 ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา 56130
โทรศัพท์: 089 262 8485 e-mail: ratirat.wpk@gmail.com
ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.สารคาม
พื้นที่ต้นแบบชุมชนสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ: ชุมชนวิเคราะห์-แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
เน้นการทำงานสร้างความร่วมมือกับทีมทำงานในชุมชน โดยเฉพาะ อสม.และแกนนำเยาวชน ร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเป็นชุมชนสุขภาวะทางเพศที่ดีและปลอดภัย เพื่อให้กลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ปกครองมีความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศ และเข้าถึงบริการอุปกรณ์ป้องกันที่ปลอดภัย เช่น ถุงยาง ยาคุมกำเนิด และเชื่อมประสานความร่วมมือกับทีมชุมชนในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ประสบปัญหา และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
ที่ติดต่อ
เครือข่ายเด็กและเยาวชน จ.มหาสารคาม
นายเสาร์ศิลป์ เพ็งสุวรรณ
57 หมู่ 4 ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม 44180
โทรศัพท์: 080 054 8081 e-mail: saosinpengsuwan@hotmail.com
อ.จะนะ จ.สงขลา
โรงเรียนสุทธิ์รักษ์: โรงเรียนส่งเสริมสุขภาวะทางเพศระดับประถม
โรงเรียนที่ปรับสภาพแวดล้อมที่สร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ และมีกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเด็กและสภาพสังคม มีการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบเพื่อเสริมให้เด็กมีภูมิคุ้มกันต่อการเผชิญปัญหาทางเพศที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเป็นวัยรุ่น
การพัฒนาสู่โรงเรียนสุขภาวะทางเพศเต็มระบบ
ที่ติดต่อ
กลุ่มมานีมานะ ร่วมกับ โรงเรียนสุทธิ์รักษ์
นายโตมร อภิวันทนากร
141 ถนนราษฎร์ยินดี ซอย 9 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์: 089 467 9909 e-mail: atomorn@gmail.com
www.suthrak.ac.th